กลุ่ม LGBTQ+ ในญี่ปุ่นเผย ต้องอยู่แบบหลบซ่อน-ยังไร้ที่ยืนในสังคม
ประเทศญี่ปุ่น ยังคงเป็นหนึ่งในประเทศเดียวของชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือกลุ่ม G7 ที่เคร่งครัดในแนวคิดอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ นอกเหนือจากเรื่องชายเป็นใหญ่ในสังคมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ญี่ปุ่นยังคงมิอาจก้าวข้ามได้ คือการยอมรับกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ
อากิ และ ฮิคาริ คู่รักหญิงรักหญิงชาวญี่ปุ่น บอกเล่าเรื่องราวชีวิตกับสำนักข่าว BBC ว่า พวกเธอกำลังมองหาบ้านเช่าเพื่ออาศัยอยู่ด้วยกัน แต่คำตอบที่ได้รับคือ จะเปิดเฉพาะ"บ้านเช่าสำหรับคู่รักหญิง-ชาย" ให้เท่านั้น
สหรัฐฯ แฉ เกาหลีเหนือเริ่มส่งปืนใหญ่ให้รัสเซียใช้ ในสงครามยูเครน
เจ้าหน้าที่เปรู ปฏิบัติการกวาดล้างธุรกิจ "เซลฟี่กับสัตว์"
นักต่อสู้สิทธิสตรีอิหร่าน คว้ารางวัล “โนเบลสันติภาพ” ปี 2023
อากิ และฮิคาริ ในวัย 30 กว่า เป็นคู่รักที่คบกันมากว่า 7 ปีแล้ว พร้อมเลี้ยงดูลูกชายตัวน้อยอย่างดี ทั้งสลับกันป้อนนม เปลี่ยนผ้าอ้อม เพื่อให้อีกคนได้พักผ่อน ทว่าในความเป็นจริง หากพูดถึงท่าทีของรัฐบาล และสังคมที่มีแนวคิดอนุรักษนิยมของญี่ปุ่นนั้น ทั้งคู่ไม่ใช่คู่รักที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้เพื่อนๆ จะคอยให้กำลังใจ แต่กลับไม่เป็นที่ยอมรับของผู้คนอีกมากมาย ทั้งคู่จึงเลือกเก็บความสัมพันธ์นี้ไว้เป็นความลับ และไม่เปิดเผยชื่อจริง พร้อมกล่าวว่าจะระมัดระวังลูกชายเป็นพิเศษ เพราะความเชื่อแบบเดิม ๆ ของคู่รักเพศเดียวกันยังคงอยู่ และทั้ง 3 คนไม่ได้ถูกจัดให้เป็นครอบครัวเดียวกัน
อากิ กล่าวว่า รู้ตัวว่าเป็น LGBTQ+ ตั้งแต่ยังเด็ก เธออาศัยในเมืองเล็ก ๆ ที่มีแต่คนที่มีความคิดหัวโบราณ พอรู้ตัวว่าเริ่มชอบเพศเดียวกัน จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อจะแก้ไขให้ตัวเองรู้สึกเป็นปกติ และใช้ชีวิตหลบซ่อนตัวตนมาตลอด มีหลายครั้งที่หมดความพยายามและท้อใจจนไม่อยากทำอะไรอีกต่อไป จนกระทั่งวันนี้ เธอและฮิคาริ อยากแสดงให้เห็นว่ายังมีชีวิต มีลมหายใจอยู่ตรงนี้ แต่ในสังคมญี่ปุ่น พวกเธอกลับรู้สึกเหมือนอากาศธาตุ
ทั้งนี้ ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศเดียวในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศหรือ G7 ที่ยังคงไม่เปิดรับคู่รักเพศเดียวกันอย่างเต็มรูปแบบ หรือมีกฎหมายคุ้มครองที่ชัดเจนกับกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ทำให้หนทางที่ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่เปิดกว้างให้ชุมชน LGBTQ+ ถดถอยลง และเริ่มจะเลือนรางลงเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ตาม ความกดดันนี้แผ่ขยายมากขึ้น หลังสมาคมคนรักเพศเดียวกันออกมาเรียกร้องว่า การที่หลายเขตในญี่ปุ่นเลือกตัดสินความผิดของกลุ่ม LGBTQ+ หรือห้ามให้เพศเดียวกันครองรักกัน เป็นการตัดสินที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ แต่กระนั้น นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ก็พยายามให้มีการปฏิรูปแนวคิดแบบโบราณของฝ่ายอนุรักษ์นิยม นอกจากนี้ เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2022 หนังสือพิมพ์อาซาฮี รายงานผลโพล พบว่ามีประชาชน 65% สนับสนุนการสมรสเพศเดียวกัน ขณะที่อีก 22% คัดค้าน
กฎหมายใหม่ของ LGBTQ+ ไม่ได้พูดถึงสมรสเท่าเทียม คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ขณะที่ความคืบหน้าของการเปลี่ยนแปลงความคิดโบราณของสังคมญี่ปุ่นนี้ มีทั้งคนหนุ่มสาวจำนวนมาก ที่ออกมาส่งเสียงแสดงความต้องการที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงในญี่ปุ่น ซึ่งในการปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่ง มีการออกใบรับรองการเป็นคู่ชีวิตให้ แต่ไม่ได้มีผลทางกฎหมายแต่อย่างใด ในขณะที่กฎหมายใหม่ที่เน้นกับกลุ่ม LGBTQ+ พุ่งเป้าไปที่การเลือกปฏิบัติทางเพศต่อเยาวชน ซึ่งทำให้กลุ่ม LGBTQ+ ผิดหวัง เนื่องจากบุคคลที่ร่างกฎหมายนี้ คือนักกฎหมายรุ่นเก่าที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ซึ่งไม่ได้มีการให้ความสำคัญและกล่าวถึงการสมรสเท่าเทียมแต่อย่างใด
กลุ่มนักเคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าว ต่างออกมาแสดงความโกรธเคือง เนื่องจากเนื้อความและภาษาที่ใช้ในกฎหมายระบุว่า “เพื่อช่วยทำให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างขึ้นกับเยาวชนในทางเพศ ที่ซึ่งประชาชนทุกคนจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ” ทั้งนี้ ยังมีปฏิกิริยาจากนักวิจารณ์ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า ให้สิทธิ์กับคนส่วนมากก่อนเป็นลำดับแรก และนัยของการมีอยู่ของกลุ่ม LGBTQ+ สามารถเป็นภัยคุกคามต่อความสงบสุขของประเทศ
อากิระ นิชิยะมา รองเลขาธิการทั่วไปกลุ่มพันธมิตรเพื่อ LGBT ทางกฏหมายของญี่ปุ่น กล่าวกับ BBC ว่า มีนักการเมืองหลายคนที่ต้องการจะใช้กฎหมายตัวใหม่นี้ ยับยั้ง และจำกัดการศึกษาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียนและบริษัทต่าง ๆ ของกลุ่ม LGBTQ+ นอกจากนี้ นักการเมืองอนุรักษนิยมต่างก็ต้องการจะปกป้องค่านิยมของคำว่าครอบครัวแบบดั้งเดิม หรือสังคมปิตาธิปไตยที่ชายเป็นใหญ่นั่นเอง
ขณะที่คู่รักเพศเดียวกันอย่างอากิและฮิคาริ ที่พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การขาดการยอมรับอย่างถูกกฎหมาย เป็นอะไรที่ไกลจากความกังวลที่เป็นนามธรรม เนื่องจากในความเป็นจริง พวกเธอใช้ชีวิตยากขึ้นมากในทุก ๆ วัน อากิที่ให้กำเนิดลูกชายนั้น มีสิทธิเป็นผู้ปกครองโดยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตอนเธอคลอด ก็ได้เขียนพินัยกรรมไว้ให้คู่ชีวิตของเธออย่างฮิคาริเป็นผู้ดูแลลูก เผื่อเธออาจเสียชีวิตวันใดวันหนึ่ง
แต่หากว่ากันตามกฎหมายแล้ว ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่า ฮิคาริจะมีสิทธิ์ได้เป็นผู้ดูแลลูกหรือไม่ หรือแม้แต่ถ้าใครคนใดคนหนึ่งต้องเข้าโรงพยาบาล อีกคนหนึ่งก็ไม่มีสิทธิ์เซ็นเอกสาร หรือเซ็นมอบอำนาจแทนในฐานะคู่ครอง อีกทั้งหลายคู่ก็ไม่สามารถร่วมกู้เพื่อซื้อบ้านสำหรับสร้างครอบครัว และเมื่อวันหนึ่งที่คนใดคนหนึ่งเสียชีวิต อีกคนก็ไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในมรดกหรือทรัพย์สินของอีกฝ่ายเลย
อย่างไรก็ตาม การได้มาซึ่งใบรับรองหุ้นส่วนชีวิต อาจเป็นมากกว่าการต้องการให้สังคมยอมรับหรืองานแต่งงานตามกฎหมาย เช่นคู่ของ เคทาโร กับ ฮิเดกิ ที่พบกันในคลาสเรียนบัลเลต์ ก่อนจะตกลงคบกันในช่วงที่เคทาโรอายุ 40 กว่าปีแล้ว ทั้งสองคนต่างตื่นเต้นที่จะได้ใบรับรองการเป็นหุ้นส่วนชีวิตของกันและกัน แม้ว่าจะไม่ได้มีการคุ้มครองทางกฎหมาย แต่สำหรับทั้งคู่ สิ่งนี้คือสัญลักษณ์ที่เหนือกว่าการแต่งงานอย่างถูกกฎหมายเสียอีก
ท้ายที่สุดแล้ว ทั้งหมดต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การถูกเลือกปฏิบัติในญี่ปุ่นนั้นยังคงมีอยู่โดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลง จึงทำให้การเปิดเผยตัวตนและใช้ชีวิตตามปกติ เป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัยสำหรับสังคม LGBTQ+ แต่พวกเขาก็หวังว่าในวันหนึ่งญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไป ผู้คนจะเห็นความสำคัญ และปกป้องสิทธิของคนกลุ่มนี้ โดยที่ไม่ต้องอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ อีกต่อไป